ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนพรตพิทยพยัต (อังกฤษProtpittayapayat school) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 ก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์พรต เดชา หรือ อำมาตย์โท ศาสตราจารย์ หลวงพรตพิทยพยัต -คุณหญิงเลี่ยม บุนนาค ผู้อำนวยการคนแรกคือ นายเขียน ขำปัญญา โรงเรียนพรตพิทยพยัตเป็นหนึ่งใน 500 โรงเรียนที่อยู่ในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล
         
ประวัติ
โรงเรียนพรตพิทยพยัตก่อตั้งบนที่ดิน 1,041 ไร่ของของ คุณหญิงเลี่ยม บุนนาคที่ได้มอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้สร้างสถาบันทางการศึกษาขึ้นในท้องที่เขตลาดกระบังเพื่อให้เยาวชนในเขตลาดกระบังได้มีการศึกษา
เลี่ยม บุนนาค ได้สมรสกับหลวงพรตพิทยพยัต ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน เลี่ยมจึงได้เจริญรอยตามเจตนารมณ์เดิมของเจ้าคุณทหาร คือ ต้องการให้สร้างโรงเรียนขึ้นในท้องที่นี้ ท่านได้สร้างบ้านพักไว้ 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2492 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้นในท้องที่ลาดกระบัง ได้ใช้บ้านพักของท่านเลี่ยมเป็นโรงเรียนชั่วคราวและ ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนพรตพิทยพยัต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ ศ.ดร.หลวงพรตพิทยพยัต ได้เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2492
ปี พ.ศ. 2500 ท่านเลี่ยมได้มอบที่ดินให้กระทรวงศึกษาธิการ และแบ่งให้โรงเรียนพรตพิทยพยัต จำนวน 200 ไร่ (นอกนั้นให้ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ต่อมาโรงเรียนพรตพิทยพยัตได้แบ่งที่ดิน จำนวน 63 ไร่ให้แก่วิทยาลัยช่างศิลป์ โรงเรียนพรตพิทยพยัตจึงเหลือที่ดิน 137 ไร่
  • พรตพิทยพยัต เป็นนามพระราชทานซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ศ.ดร.พรตเดชา
    • "พรต"หมายถึง กิจวัตร การปฏิบัติ
    • "พิทย"หมายถึง ความรู้
    • "พยัต"หมายถึง ผู้เรียน ผู้รู้ เฉียบแหลบ
รวมความหมายว่า "ผู้ใฝ่หาวิชา ความรู้อยู่เป็นนิจ"

ประวัติโรงเรียน

หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)
LuangBrata.JPG
เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438
ถึงแก่กรรม 3 มิถุนายน พ.ศ. 2483 (44 ปี)
อาชีพ อาจารย์
คู่สมรส คุณหญิงเลี่ยม พรตพิทยพยัต

ศาสตราจารย์พรต เดชา หรือ อำมาตย์โท ศาสตราจารย์ หลวงพรตพิทยพยัต (อังกฤษLuang Brata) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เป็นอาจารย์ชาวไทย เริ่มดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์พิเศษสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พรตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการศึกษาเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วง พ.ศ. 2478 - 2483 และหัวหน้าแผนกปรุงยา คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

ประวัติ[แก้]

พรต เดชา เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนสวนกุหลาบ ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ณมหาวิทยาลัยบริสตอล ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์พิเศษ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ในระหว่างนั้นได้เป็นอาจารย์พิเศษทำการสอนในหลายโรงเรียน ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ปีเดียวกัน ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร รับผิดชอบในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และได้รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2466

ต่อมาก็ได้เลื่อนยศเป็นอำมาตย์โทและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพรตพิทยพยัต" เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2464 และได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2471[1] รับผิดชอบงานสอนวิชาฟิสิกส์แก่นิสิตเตรียมแพทย์ เตรียมเภสัชศาสตร์ และสอนวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์แก่นิสิตวิทยาศาสตร์ และนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ไปศึกษาต่อในชั้นดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษ ในสาขาวิทยาศาสตร์ และได้เปิดทำการสอนในวิชาสเปกโทสโคปีแก่นิสิตวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา[2]

พรตดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วง พ.ศ. 2478 - 2483 และหัวหน้าแผนกปรุงยา คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2475 - 2476 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ขณะเล่นกอล์ฟ ณ สนามดุสิต ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก[2] สิริอายุรวม 45 ปี

 


คุณหญิงเลี่ยม บุนนาค

คุณหญิงเลี่ยม  บุนนาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
คุณหญิงเลี่ยม พรตพิทยพยัต
ไฟล์:ท่านเลี่ยม บุนนาค.jpg
ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2506
คู่สมรส • เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
• หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)
บิดามารดา เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
หลี บุนนาค

คุณหญิงเลี่ยม บุนนาค เป็นธิดาคนที่ 12 ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น สมุหกลาโหม ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกบิดาท่านว่า เจ้าคุณทหารหรือเจ้า คุณกลาโหม มารดาชื่อ ท่านหลี ท่านเลี่ยมได้สมรสกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ต่อมาได้สมรสกับหลวงพรตพิทยพยัต และก็ไม่มีบุตรธิดาเช่นเดียวกัน

ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ท่านมักจะมาพักอยู่ที่บ้านพักอยู่บ้านพักที่หัวตะเข้ (ตั้งอยู่ริมคลองตรงข้ามที่ว่าการเขตลาดกระบัง) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นท้องถิ่นที่ห่างไกล จะเดินทางไปมาได้โดยทางเรือเท่านั้น ระหว่างที่พักอยู่ที่หัวตะเข้ท่านเห็นเด็ก ๆ ชาวหัวตะเข้และลูกหลานชาวนาที่เช่าที่นาของท่านและทำใกล้เคียง เช่น บ้านบึงบัว ลำปะทิว ทับยาว ยังไม่ค่อยได้รับการศึกษา เพราะไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมในย่านนั้นเลย และการเดินทางก็ลำบากประกอบกับท่านเจ้าคุณทหาร เมื่อครั้งมาควบคุมการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ผ่านท้องที่ลาดกระบังไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้สังเกตเห็นว่าคนงานที่รับจ้างขุดดินในการขุดคลองแถวนี้เมื่อเลิกงานก็ดื่มสุรามึนเมาเล่นการพนันทะเลาะวิวาทฆ่าฟันกันตายเป็นเนืองนิจท่านก็ได้ ปรารภกับท่านเลี่ยมเสมอว่า คนพวกนี้ไม่มีอะไรอีกแล้วในชีวิต หากินมาได้ก็กินเหล้า เล่นการพนันหมดซ้ำยังก่อการวิวาทฆ่าฟันกันอีกด้วย ทั้งนี้เพราะว่าขาดการศึกษา [1]

 
พิธีมอบที่ดินจากท่านเลี่ยม

ดังนั้นทางที่จะช่วยคนพวกนี้ได้ก็มีอยู่ทางเดียว คือ ให้การศึกษาแก่บรรดาลูก ๆ หลาน ๆ ของคนพวกนี้เท่านั้น ท่านเจ้าคุณทหารจึงจับจองที่ดินในบริเวณริมคลองที่ขุดขึ้นประมาณ 1,500 ไร่ โดยมีความตั้งใจว่า จะให้ที่ดินผืนนี้เป็นสถานศึกษา ให้ความรู้แก่อนุชนรุ่นหลัง ให้มีสติปัญญามีอาชีพที่ดีขึ้นกว่านี้ต่อมาไม่นานท่านเจ้าคุณทหารถึงแก่อสัญกรรม ที่ดินผืนนี้จึงตกเป็นของธิดาท่านคือท่านเลี่ยมซึ่งท่านก็ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณทหารด้วยการ ที่ยกที่ดินในเขตลาดกระบังให้กระทรวงศึกษาธิการ 1,041 ไร่ เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาให้เด็กชาวลาดกระบังได้มีโอกาสเล่าเรียนชั้นสูงต่อไป โดยมอบบ้านพักของท่านที่หัวตะเข้ให้ใช้เป็นอาคารเรียนเปิดสอนในระดับมัธยม และให้ใช้ชื่อโรงเรียนนี้ว่า"โรงเรียนพรตพิทยพยัต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สามีผู้ล่วงลับไป ส่วนที่ดินอีกส่วนหนึ่ง ท่านขอให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเป็นวิทยาลัยอาชีวะ สอนวิชาชีพและขอให้ใช้ชื่อ ท่านเจ้าคุณทหาร เป็นชื่อวิทยาลัยซึ่งต่อมาก็เป็นวิทยาลัย เกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร (ปัจจุบันโอนไปสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) อีกส่วนหนึ่งเป็นวิทยาลัย โทรคมนาคมและวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง (ปัจจุบันเป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร  บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์
(วร บุนนาค)
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์.jpg
เกิด พ.ศ. 2371
เสียชีวิต พ.ศ. 2431
บิดา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
มารดา ท่านผู้หญิงกลิ่น บุนนาค
บุตร/ธิดา 65 คน

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) (พ.ศ. 2371 - พ.ศ. 2431) มีนามเดิมว่า วร หรือ วอน เป็นบุตรชายใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ธิดาหลวงแก้วอายัติ (จาด) [1]

ท่านเริ่มรับราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และเป็นอุปทูตติดตามพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ราชทูต ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2403 ต่อมาท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ จางวางมหาดเล็ก และเป็นราชทูต ไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ. 2409

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหม ศักดินา 10,000 เมื่อ พ.ศ. 2412 ท่านดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เป็นเวลา 19 ปี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2431 บุคคลทั่วไปออกนามเรียกเป็นการสามัญว่า “เจ้าคุณทหาร” หรือ “เจ้าคุณกลาโหม” และชื่อเรียกนี้ก็กลายมาเป็นชื่อของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในเวลาต่อมา

เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 65 คน โดยบุตรธิดาที่รับราชการในตำแหน่งสำคัญ[1] เช่น

 

ก่อนหน้า   เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)   ถัดไป
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค)
2leftarrow.png ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง
(พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2430)
2rightarrow.png นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค)
2leftarrow.png สมุหพระกลาโหม
(พ.ศ. 2398 - พ.ศ. 2412)
2rightarrow.png เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์
(พุ่ม ศรีไชยันต์)