สัญลักษณ์โรงเรียน
|
|
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน พระมหาพิชัยมงกุฎ อยู่เหนือชื่อโรงเรียนพรตพิทยพยัต
มีความหมายว่า "เราจะเทิดทูนพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด
-
ดอกไม้ประจำโรงเรียน คือ ดอกบุนนาค
|
ดอกไม้ประจำโรงเรียน
|
|
|
สีประจำโรงเรียน
|
|
|
อาคารสถานที่ในโรงเรียน
|
อาคารสถานที่ในโรงเรียน
อาคารเรียนหลักในโรงเรียนพรตพิทยพยัต
-
อาคารเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
-
อาคารเจ้าคุณทหาร
-
อาคารหลวงพรตพิทยพยัต
-
อาคารท่านเลี่ยม บุนนาค
-
อาคาร48ปีพรตพิทยพยต
ทางเดินเชื่อมต่ออาคารเจ้าคุณทหาร
-
อาคาร60ปีพรตพิทยพยัต
อาคาร60ปีพรตพิทยพยัต
อาคารเรียนในโรงเรียนพรตพิทยพยัต[แก้]
-
อาคารงานไฟฟ้าและงานไม้
-
อาคารงานเขียนแบบและงานประดิษฐ์
-
อาคารงานผ้าและดนตรี
-
ศาลาลูกเสือ
ศูนย์กีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยม[แก้]
ศูนย์กีฬาหลวงพรตท่านเลี่ยมก่อสร้างในปี พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาได้ยกที่ดิน จำนวน 33 ไร่ ให้กรมพลศึกษา จัดสร้างสนามกีฬาแบบมาตรฐาน โดยจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องจนแล้วเสร็จประมาณ 100 ล้านบาทโดยมอบให้โรงเรียนพรตพิทยพยัตดูแลรักษา ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย
-
สนามกีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยม สนามกีฬาหลวงพรต-ท่านเลี่ยมมีอัฒจรรย์ความจุ3,600ที่นั่งพร้อมยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา
-
สนามกีฬาในร่มพรตพิทยพยัต50ปี หรือโรงยิม50ปีพรตพิทยพยัตภายในสนามมีความจุถึง1,600ที่นั่ง สามารถใช้แข่งกีฬาฟุตซอลและบาสเกตบอล
-
สระว่ายน้ำท่านเลี่ยมภายในสระวายน้ำมีอัฒจรรย์ความจุ600ที่นั่งสระขนาดมาตรฐาน50เมตร
-
สนามบาสเกตบอล มีทั้งหมดสองสนามภายในศูนย์ (ทั้งโรงเรียน5สนาม)
-
สนามเทนนิสสุดรักถาวร มีทั้งหมด2สนาม
-
เรือนสีส้ม ใช้เป็นที่พักนักกีฬาและที่เก็บอุปกรณ์กีฬาเทนนิส
-
สนามแบดมินตัน สนามแบดมินตันมีทั้งหมด4สนามตั้งอยู่ภายในหอประชุมใหญ่ซึงสามารถดัดแปลงเป็นที่ประชุมนักเรียนได้ด้วยและภายในหอประชุมใหญ่ยังมีเวทีมวยมาตรฐานอีก๑เวที
อุทยานหลวงพรต-ท่านเลี่ยม[แก้]
อุทยานหลวงพรต-ท่านเลี่ยมเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดภายในโรงเรียนเพราะภายในอุทยานเป็นที่ตั้งของตัว อนุสาวรีย์หลวงพรต-ท่านเลี่ยมเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านทั้งสอง ตัวอนุสาวรีย์เองนั้นวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2525 แต่ตัวอุทยานก่อสร้างในยุคต่อมานำโดย นายเฉลียว พงศาปาน ผู้บริหารในยุคนั้น
ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส[แก้]
ละครเพลงภาษาฝรั่งเศสของโรงเรียนพรตพิทยพยัตจัดแสดงขึ้นในทุกปีโดยกลุ่มการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องแรกที่จัดแสดงคือ Roméo et Juliette ในปี พ.ศ. 2545 [3]
ละครเพลงภาษาฝรั่งเศส ปีการศึกษา 2553 เรื่อง ZORRO
บุนนาคเกมส์[แก้]
กีฬาบุนนาคเกมส์ หรือกีฬาภายในได้มีการจัดการแข่งขันมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของโรงเรียนแต่ในตอนนั้นยังไม่มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการจนในปี พ.ศ. 2544 นายเฉลียว พงศาปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้นได้มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า บุนนาคเกมส์ [4]
|